20-22 สิงหาคม 2568
ไบเทค กรุงเทพ

โดรน ยานยนต์อัตโนมัติ และ 5G คืออนาคตของโลจิสติกส์

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งสำคัญ ผ่านการใช้โดรนและยานยนต์ไร้คนขับ รวมถึงเครือข่าย 5G ที่มีบทบาทในการถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การทำงานอัตโนมัติราบรื่น และการเชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทานไร้รอยต่อ กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเข้ามาพลิกโฉมวิธีการขนส่ง จัดการ และส่งมอบสินค้าในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

การดำเนินการแบบเรียลไทม์ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

  • โดรนได้ปฏิวัติการขนส่งในระยะสุดท้ายด้วยการหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัดและเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังปรับปรุงการดำเนินงานในคลังสินค้าด้วยการตรวจสอบสินค้าคงคลังอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความแม่นยำขณะที่ลดความเสี่ยงจากการใช้แรงงานคน มอบการเฝ้าระวังและการตรวจสอบความปลอดภัยที่คุ้มต้นทุนสำหรับคลังสินค้า

  • ยานยนต์ไร้คนขับมีความโดดเด่นในการขนส่งสินค้าทางไกล ด้วยศักยภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่องเพราะไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความล้าของผู้ขับขี่ พร้อมทั้งสามารถปรับเส้นทางให้เหมาะสมเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ยานยนต์ไร้คนขับยังช่วยให้ส่งมอบสินค้าได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ระบบการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์อัตโนมัติโดยยานยนต์ไร้คนขับยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ท่าเรือและท่าขนส่งสินค้าอีกด้วย

  • เครือข่าย 5G ช่วยให้การสื่อสารระหว่างยานพาหนะ คลังสินค้า และศูนย์ควบคุมเป็นไปอย่างเรียลไทม์ ในปัจจุบันนี้ รถบรรทุกและรถตู้ขนส่งที่เชื่อมต่อกันได้จะแชร์ข้อมูลอัปเดตทันที จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางและความแม่นยำในการจัดส่งได้อย่างมาก ที่สำคัญ คลังสินค้าอัจฉริยะที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ IoT ซึ่งขับเคลื่อนด้วย 5G ยังช่วยให้การติดตามและการประมวลผลคำสั่งซื้อเป็นไปโดยอัตโนมัติอย่างแม่นยำ

ปัจจุบันนี้ บริษัทต่างๆ เช่น DHL, Maersk และ Swoop Aero ล้วนนำเครือข่าย 5G มาใช้ในการดำเนินงานของตน ผ่านการทดสอบรถบรรทุกไร้คนขับที่ลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ ลดอุบัติเหตุ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง โดรนที่ติดตั้งการเชื่อมต่อ 5G ได้ส่งมอบสินค้าไปยังพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากได้สำเร็จ ซึ่งกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับบริการจัดส่งในระยะสุดท้าย และการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ก็ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

ความท้าทาย

การนำ 5G มาใช้ในสเกลใหญ่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ อาทิเช่น โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชนบทนั้นต้องใช้เงินลงทุนสูง ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น การขาดมาตรการระดับโลกสำหรับควบคุมการสื่อสารระหว่างยานพาหนะกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดขบวนยานพาหนะและคลังสินค้าให้รองรับระบบ 5G ก็อาจสูงเกินไปสำหรับบริษัทขนาดเล็ก เป็นต้น

ความน่าจะเป็นในอนาคต

เมื่อเครือข่าย 5G ขยายตัวมากขึ้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะก้าวหน้ายิ่งขึ้นในการดำเนินการอัตโนมัติ บริษัทผู้ให้บริการขนส่งจะพร้อมตอบสนองความต้องการด้านอีคอมเมิร์ซที่เติบโตและความคาดหวังของผู้บริโภคที่จะได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้มากขึ้น อนาคตจะเป็นของผู้ประกอบการที่สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้และบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งาน ไทล็อก - โลจิสติกซ์ จะนำเสนอข่าวสารใหม่ๆ ในแวดวงโลจิสติกส์ผ่านบล็อกในฉบับถัดไป นอกจากนี้ ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ยังสามารถค้นพบบริการและเทคโนโลยีได้ที่งาน ไทล็อก - โลจิสติกซ์ 2025 ระหว่างวันที่ 20-22 สิงหาคมนี้ ที่ไบเทค กรุงเทพฯ ฮอลล์ 98 หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสำรองพื้นที่เพื่อโอกาสพบปะกับว่าที่พันธมิตรทางการค้าด้านโลจิสติกส์จากทั่วประเทศ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected] หรือโทร. 0 2686 7222

Related Articles